Cover ปรมาจารย์ลัทธิมาร เพลงจบรักไม่จบ 曲尽陈情《陈情令》กู่ฉิน ขลุ่ยไทย เอ้อร์หู ฟรู้ท
YsGuzheng YsGuzheng
9.61K subscribers
22,485 views
889

 Published On Oct 1, 2019

เพลงจบรักไม่จบ ปรมาจารย์ลัทธิมาร
曲尽陈情《陈情令》 Cover One World Project
.
ฮาร์ม :อาเรนจ์
Harm :Arrange
.
ชัชพล เจียมจรรยง :ฟรู้ท
Chatchapon Jiamjanyong :Flute
อาจารย์ ม.รังสิต,แอดมินเพจ Chatcha Flute Studio
.
ณนน จตุรวัฒนา :ขลุ่ยไทย / ตัดต่อ
Narnon Jaturawattana : Khlui / video editor
แอดมินเพจ Narnon Music,เจ้าของร้าน Sushi Corner
.
นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล :เอ้อร์หู / มิกส์และมาสเตอร์
Nampark Sribanditmongkol :Erhu / Mix & Mastering
อาจารย์พิเศษดุริยางศิลป์ มหิดล,แอดมินเพจ Erhu lover Thailand
.
ชัชชล ไทยเขียว :วิดีโอ / ประสานงาน
Chatchol Thaikheaw : Videographer / co-producer
แอดมินเพจ สำนักหยวนอวิ้นซานฝาง
.
无名王 :โปรดิวเซอร์
Wu Mingwang Producer
อาจารย์อาวุโสที่ปรึกษาด้านเต๋าดั้งเดิม
——————————————————————————
.
------------- เกล็ดความรู้ --------------- 
:: ปรมาจารย์ลัทธิมาร หลานวั่งจี เว่ยอิง และเต๋า ::
.
.“忘機 วั่งจี” ชื่อเต็ม (หลานวั่งจี 藍忘機) แปลตรงตัวว่า “ลืม” “ความคิด” หมายถึง "ลืมจิตตน" ซึ่งไม่ใช่การขาดสติชั่วครู่ แต่คือ “ไม่รับรู้การดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและจิตตน” อันเป็นสภาวะสูงสุดของเต๋า (ความหมายเดียวกับ "無為 อู๋เหวย" ที่แปลว่า "ไร้เจตนา" (หรือนิพพาน เมื่อลืมว่ามีจิตก็ไร้เจตนา) ซึ่ง “วั่งจี” ยังเป็นชื่อเพลงโบราณอีกด้วย ตำราเสินฉีมี่ผู่《神奇秘谱》สมัยหมิง บันทึกว่า “วั่งจี เพลงนี้หลิวจื้อฟางแห่งเทียนไถในสมัยซ่งเป็นผู้แต่ง ว่ากันว่าอิงจากตำราเลี่ยจื่อ กล่าวถึงชาวประมงผู้หนึ่ง ลืมจิตตน นกทะเลจึงไม่บินหนีไป จึงแต่งเพลงเป็นสภาวะนั้น นี่ก็คงเหมือนกับการลืมจิตตนกระมัง” อีกตำนานกล่าวว่า เมียท่านผู้เฒ่ารู้ว่าแกเล่นกับนกได้ เลยให้จับกลับบ้าน พอไปถึงทะเล นกรู้ว่าผู้เฒ่าจิตไม่บริสุทธิ์ จึงบินหนีไปไม่กลับมาอีกเลย... ซึ่งเพลงนี้เป็นการชี้นำให้ผู้คนลดทอนความอยาก โดยเริ่มจากความซื่อตรงต่อตนเองและทุกสิ่งรอบตัวก่อน
.
“วั่งจี” กับ “กู่ฉิน” 
กู่ฉินถูกออกแบบตามสัดส่วนกายมนุษย์ อันเป็นจักรวาลขนาดย่อมตามคติจีน เช่น ตัวยาว3ฉื่อ6ชุ่น5เฟินแทน365วัน กว้าง4ชุ่นแทนฤดูทั้งสี่ จุดบอกตำแหน่ง13จุด แทนเดือนทั้ง12+เดือนอธิกสุรธิน ด้านบนโค้งแทนฟ้า แผ่นล่างเรียบแทนดิน เป็นต้น กู่ฉินเดิมทีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือปฏิบัติธรรมแบบเต๋า ด้วยที่มันมีคุณสมบัติของจักรวาล คนโบราณจึงเชื่อว่าคลื่นของมันสามารถสะเทือนตัวคนและสิ่งแวดล้อมได้ และยังสามารถโน้มนำจิตคนให้ลดละความอยาก จนกลับไปหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้อย่างหมดจด ซึ่งก็คือภาวะ “忘機 วั่งจี” นั่นเอง 
.
ตัวละคร "วั่งจี" มีฉายาว่า "หานกวางจวิน 含光君" หานกวาง แปลว่าซ่อนแสง ในตำราเต๋า(道德經)บทที่ 56 กล่าวว่า "ผสานไปกับแสง กลืนไปกับฝุ่น" (和其光,同其塵) หมายถึงไม่ถูกพบเห็นว่ามีตัวตนอยู่ กลืนไปกับสังคมโดยไม่โดดเด่น เต๋าบทที่ 27 ยังกล่าวว่า "ดำเนินงานเป็นเลิศจึงไร้ร่องรอย" (善行無轍迹) หมายถึงธรรมชาติจัดการตนเองได้ลงตัวอย่างหมดจด  จนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น อันเป็นแนวคิดที่ผู้บำเพ็ญยึดถือปฏิบัติ ซึ่ง "หานกวางจวิน" ก็จะแปลได้ว่า “ผู้บำเพ็ญเร้นกายตามหลักแห่งธรรมชาติไปสู่ความสงบ” นั่นเอง 
.
魏婴 เว่ยอิง อิงแปลว่าทารก เต๋าบทที่10กล่าวว่า "ประคองชี่ให้อ่อนโยนอย่างที่สุด เช่นทารกได้หรือไม่" (專氣致柔,能嬰兒乎) เต๋าบทที่12กล่าวว่า "ข้านั้นแน่นิ่งไร้อารมณ์ เหมือนทารกที่ยังไม่โต" (我獨泊兮其未兆,如嬰兒之未孩) สภาวะทารกในทัศนะของเต๋าหมายถึงความอ่อนโยนและบริสุทธิ์ ไม่ถูกปัจจัยภายนอกกระตุ้นให้ขุ่นมัว ซึ่งที่จริงก็คือสภาวะของเต๋านั่นเอง เว่ยอิงมีฉายาว่า 无羡 อู๋เซี่ยน “อู๋เซี่ยน 无羡” แปลว่าไร้ความริษยา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเต๋า ในตำราเต๋า(道德經)บทที่3กล่าวว่า “มีเพียงไม่แก่งแย่ง จึงไร้กังวล” (夫唯不爭,故無尤) บทที่66กล่าวว่า “เพราะไม่แก่งแย่ง ใต้หล้าจึงไม่รู้จะแข่งอะไรกับเขา” (以其不爭,故天下莫能與之爭) บทที่68 กล่าวว่า “มีคุณสมบัติแห่งความไม่แก่งแย่ง...จึงสอดคล้องกับฟ้า” (...不爭之德,...,是謂配天之極) บทที่73กล่าวว่า “ไม่แก่งย่งแต่ได้ชัย” (不爭而善勝) บทที่81กล่าวว่า “วิถีแห่งฟ้า ราบรื่นและไร้ภัย วิถีแห่งปราชญ์ ดำเนินการโดยไม่แก่งแย่ง(ปราชญ์ดำเนินการสอดคล้องกับฟ้า(ฟ้าหมายถึงธรรมชาติ))” (天之道,利而不害;聖人之道,為而不爭) ตัวละครนี้มีจิตใตบริสุทธิ์เหมือนทารก ใจกว้าง โอบอ้อม เสียสละและชอบช่วยเหลือผู้อื่น สมกับชื่อเว่ยอิง เว่ยอู๋เซี่ยน ซึ่งสอดคล้องกับตำราเต๋าอย่างหมดจด แต่ภายหลังไม่สามารถปล่อยวางได้ จิตจึงเกิดการ “แก่งแย่ง” ขึ้น (การล้างแค้น) จนทำให้เข้าสู่ด้านมืด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “มาร” เกิดจากการอยากเอาชนะจนแพ้ใจตนนั่นเอง หากรู้เท่าทันจิตและอยู่เหนือความอยาก สงบท่านกลางความวุ่ยวายของสังคม ครูโบราณจึงมีคำกล่าวที่ว่า “ไม่ได้อยู่ในถ้ำ ไม่ได้เข้าวัด ก็บำเพ็ญได้ทุกเมื่อ”
.
ซึ่งหากพิจารณาดีๆแล้ว ทั้ง "หลานวั่งจี" และ "เว่ยอู๋เซี่ยน" ล้วนเป็นตัวแทนของเต๋า(หลักธรรมชาติ)เหมือนกันทั้งคู่ หากแต่ถูกอธิบายในแง่มุมต่างกันไป เช่นเดียวกับการอธิบายแนวคิดเต๋าของตำราเต้าเต๋อจิง(道德經) ตำราโบราณอายุ 2500 ปีที่เขียนโดยท่านเหลาจื่อ(老子) ส่วนท่านอยากเจาะลึก สนใจศึกษาเต๋าดั้งเดิม สามารถติดตามข่าวสารได้เรื่อยๆครับ ผมคิดว่าน่าจะแปลเสร็จบริบูรณ์ช่วงกลางปีหน้าครับ
.
บทความโดย ชัชชล ไทยเขียว 
ผู้ศึกษาด้านกู่ฉินและปรัชญาจีน

show more

Share/Embed