古琴 陈情令 ปรมาจารย์ลัทธิมาร ดนตรีจีน ไร้พันธะ 无羁 กู่ฉิน เอ้อร์หู
YsGuzheng YsGuzheng
9.61K subscribers
120,376 views
2.6K

 Published On Jul 13, 2019

ปรมาจารย์ลัทธิมาร
เพลง ไร้พันธะ 无羁
电视剧《陈情令》
.
ชัชชล ไทยเขียว:กู่ฉิน ลำดับภาพ
อาจารย์กู่ฉิน ผู้ดูแลเพจสำนักหยวนอวิ้นซานฝาง และเพจอวี้เซิงกู่เจิง
.
นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล:เอ้อร์หู มิกซ์และมาสเตอร์
อาจารย์เอ้อร์หู ผู้ดูแลเพจ Erhu Lover Thiailand
.
H.:เรียบเรียงดนตรีประกอบ
———————————————
:: ปรมาจารย์ลัทธิมาร หลานวั่งจี และ เต๋า :: (ฉบับย่อ)
.
.“忘機 วั่งจี” (ชื่อเต็ม #หลานวั่งจี #藍忘機) แปลตรงตัวว่า “ลืม” “ความคิด” หมายถึง "ลืมจิตตน" ซึ่งไม่ใช่เผลอไม่ได้สติเพียงชั่วครู่ แต่คือการ “ไม่รับรู้การดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและจิตตน” อันเป็นสภาวะสูงสุดของเต๋า (สิ่งเดียวกับ "無為 อู๋เหวย" ที่แปลว่า "ไร้เจตนา" (หรือนิพพาน เมื่อลืมว่ามีจิตก็ไร้เจตนา) ซึ่ง “วั่งจี” ยังเป็นชื่อเพลงกู่ฉินโบราณอีกด้วย ตำราเสินฉีมี่ผู่《神奇秘谱》สมัยราชวงศ์หมิง บันทึกว่า “วั่งจี เพลงนี้หลิวจื้อฟางแห่งเทียนไถในสมัยซ่งเป็นผู้แต่ง ว่ากันว่าอิงจากตำราเลี่ยจื่อ กล่าวถึงชาวประมงผู้หนึ่ง ลืมจิตตน นกทะเลจึงไม่บินหนีไป จึงแต่งเพลงเป็นสภาวะนั้น นี่ก็คงเหมือนกับการลืมจิตตนกระมัง” อีกตำนานกล่าวว่าภรรยาท่านผู้เฒ่ารู้ว่าแกเล่นกับนกได้ เลยให้จับกลับมาบ้าน พอไปถึงทะเล นกรู้ว่าผู้เฒ่าจิตไม่บริสุทธิ์ เลยบินหนีไปไม่กลับมาอีกเลย... ซึ่งเพลงนี้เป็นการชี้นำให้ผู้คนลดทอนความอยากทั้งปวง โดยเริ่มจากความซื่อตรงต่อตนเองและทุกสิ่งรอบตัวก่อน
.
“วั่งจี” กับ “กู่ฉิน” เกี่ยวกันอย่างไร? กู่ฉินถูกออกแบบตามสัดส่วนร่างกายมนุษย์ อันเป็นจักรวาลขนาดย่อมตามคติจีน เช่น ตัวยาว3ฉื่อ6ชุ่น5เฟินแทน365วัน กว้าง4ชุ่นแทนฤดูทั้งสี่ จุดบอกตำแหน่ง13จุด แทนเดือนทั้ง12+เดือนอธิกสุรธิน ด้านบนโค้งแทนฟ้า แผ่นล่างเรียบแทนดิน เป็นต้น ซึ่งเดิมทีนั้นกู่ฉินถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือปฏิบัติธรรมแบบเต๋า ด้วยที่มันมีคุณสมบัติของจักรวาล คนโบราณจึงเชื่อว่าคลื่นของมันสามารถสะเทือนตัวคนและสิ่งแวดล้อมได้ และยังสามารถโน้มนำจิตคนให้ลดละความอยาก จนกลับไปหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้อย่างหมดจด ซึ่งก็คือภาวะ “忘機 วั่งจี” นั่นเอง
.
ตัวละคร "วั่งจี" ยังมีฉายาว่า "หานกวางจวิน 含光君" หานกวาง แปลว่าซ่อนแสง ในตำราเต๋า(道德經)บทที่ 56 กล่าวว่า "ผสานไปกับแสง กลืนไปกับฝุ่น" (和其光,同其塵) หมายถึงไม่ถูกพบเห็นว่ามีตัวตนอยู่ กลืนไปกับสังคมโดยไม่โดดเด่น เต๋าบทที่ 27 ยังกล่าวว่า "ดำเนินงานเป็นเลิศจึงไร้ร่องรอย" (善行無轍迹) หมายถึงธรรมชาติจัดการตนเองได้ลงตัวอย่างหมดจด จึงไร้ร่องรอยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น อันเป็นแนวคิดที่ผู้บำเพ็ญยึดถือปฏิบัติ ซึ่ง "หานกวางจวิน" ก็จะแปลได้ว่า “ผู้บำเพ็ญเร้นกายตามหลักแห่งธรรมชาติไปสู่ความสงบ” นั่นเอง
.
บทความโดย ชัชชล ไทยเขียว
ผู้ศึกษาด้านกู่ฉินและปรัชญาจีน

show more

Share/Embed