กู้ร่วม : เมื่อความสัมพันธ์อาจไม่คงอยู่ตลอดไป แต่หนี้ยังต้องจ่ายไปอีก 20 ปี
Mr.Oe Mr.Oe
102K subscribers
2,532 views
67

 Published On Oct 3, 2024

กู้ร่วม คือหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ดี ถ้าใช้ได้ถูกทาง แต่ถ้าใช้แบบไม่คิดให้รอบคอบ การกู้ร่วม คือความเสี่ยงทางการเงิน ที่สามารถทำลายชีวิตคน ทำลายชีวิตคู่ได้เลย

การกู้ร่วมก็คือการที่คนสองคนขึ้นไป ร่วมกันกู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากธนาคารโดยปกติแล้วผู้กู้ร่วมมักจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้นและต้องร่วมรับผิดชอบเงินกู้ร่วมกัน

เช่นสมมุติว่าคนสองคนกู้ร่วม 1,000,000 บาท และเป็นเจ้าของร่วมรับภาระคนละครึ่ง ก็แปลว่าแต่ละคนรับผิดชอบคนละ 500,000 บาท ประมาณนี้

โดยปกติการกู้ธนาคารจะให้เฉพาะคนที่มีสายโลหิตเดียวกันหรือสามีภรรยาซึ่งเค้าไม่ได้บังคับว่าต้องจดทะเบียนสมรส

ถ้าเป็นแค่เพื่อนกันหรือคนรู้จักกัน จะมาขอกู้ร่วมไม่ได้

และโดยปกติทั้งสองคนก็จะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นนั้นร่วมกัน

ข้อดีของการกู้ร่วมก็คือสมมุติว่าเรามีรายได้ไม่ถึง รายได้ของ ผู้กู้ร่วม จะถูกเอามารวมและประเมินร่วมกันเช่นเราต้องการซื้อบ้านราคา 5,000,000 แต่เรามีรายได้แค่ 35,000 ซึ่งมันกู้ได้เต็มที่ประมาณ 2,000,000 เอง ถ้าพี่ชายเรามีรายได้ 60,000 มากู้ร่วมด้วย ยอดรายได้รวมก็จะเป็น 95,000 ซึ่งรวมแล้วรายได้มากพอที่จะผ่อนชำระหนี้ 5,000,000 ได้ (ยอดผ่อนเดือนละประมาณ 35,000 บาท) ธนาคารน่าจะให้กู้ได้

ปัญหาที่มักจะเจอในเรื่องกู้ร่วมคือ
1.ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นชื่อคู่ คือถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มักจะเกิดปัญหา ตอนขาย หรือตอนที่อีกคนไม่ช่วยผ่อน แต่ดันเป็นเจ้าของร่วมด้วย
2.เมือความสัมพันธ์เปลี่ยน จะเกิดปัญหาการผ่อนได้
3.เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีปัญหา ช่วยผ่อนไม่ได้ จะกลายเป็นหนี้ที่เกินกำลังของอีกฝ่าย
4.เวลาจะขายต่อเปลี่ยนมือ มันเป็นชื่อของคนสองคนถ้าอีกคนมีปัญหาไม่ยอมขาย มันจะขายไม่ได้

ข้อดีของการกู้ร่วม
1.ทำให้เราสามารถกู้ซื้อบ้าน ที่เกินกำลังตัวเองได้ในปัจจุบัน
2.ถ้าคนสองคน มีความสามารถในการผ่อนบ้านของตัวเองอยู่แล้ว และต้องการอยู่ด้วยกัน สามารถเลือกกู้ร่วมซื้อบ้านที่ต่างฝ่ายต่างสามารถผ่อนไหว แม้อีกคนจะไม่ช่วยผ่อน แล้วนำเงินส่วนที่เหลือ ไปลงทุนอย่างอื่นได้ ... ไม่ต้องไปผ่อนบ้านสองหลัง

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะกู้เดี่ยว หรือกู้ร่วม ก็ไม่ควรกู้เกินกำลังตัวเอง เพราะมันคือการเป็นหนี้ระยะยาว ที่เราต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบ ว่ามันจำเป็นต้องกู้ไหม และจะสามารถรักษาความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วมไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่ ก่อนตัดสินใจกู้ครับ

show more

Share/Embed