ยาร้อน ยาเย็น ดูยังไง? (สงสัยกันไหมครับ)
Kasetworld โลกแห่งการเกษตร Kasetworld โลกแห่งการเกษตร
189K subscribers
251,074 views
4K

 Published On Oct 8, 2020

าร้อนคือ เวลาพ่นลงไปแล้วมีผลความเป็นพิษต่อพืช เช่น ใบไหม้ เป็นต้น
ยาเย็น คือ เวลาพ่นลงไปแล้วมีผลความเป็นพิษต่อพืชน้อยหรือไม่มี
ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อการเกิดพิษต่อพืช ?
1.สูตรของสาร สารที่มีตัวทำละลายเป็นอิมัลซิไฟเออร์ คือสารที่เติมเข้าไปเพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่ไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายเข้ากันกับน้ำที่เรียกว่าสูตร EC (รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ที่ผู้เขียนเคยเสนอไว้ก่อนหน้านี้) เนื่องจากสูตรนี้มีตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์กลุ่มไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นน้ำมันเบนซีน (วงแหวนเบนซีน)เป็นส่วนประกอบ จึงมีโอกาสเกิดความเป็นพิษมากกว่าสูตร อื่น นอกจากนี้ยังมีสูตร ผงละลายน้ำ (WP) เนื่องจากหลังจากพ่นไปบนใบพืชจะไหลมารวมกันที่ปลายใบ ทำให้ปลายใบได้รับสารเข้มข้นมากกว่าจุดอื่น จึงมักเกิดอาการเกิดพิษได้ นอกจากนี้แล้วสูตรอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่าไม่เกิดความเป็นพิษ อาจเกิดได้ถ้าใช้ในอัตราสูงกว่าคำแนะนำ อีกประเด็นหนึ่งสารเคมีสูตรเดียวกันแต่บางบริษัทพ่นแล้วไม่เกิดพิษต่อพืช แต่อีกบริษัทอาจเป็นพิษก็ได้ เนื่องจากตัวทำลาะลายมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน
2.เกิดจากตัวสารเคมีเอง ได้แก่ สารที่มีสูตรโครงสร้างมาจากกลุ่มเบนซอยยูเรีย เช่น ไดฟลูเบนซูรอน คลอร์ฟลูอาซูรอน โนวาลูรอน ลูเฟนนูรอน ฯลฯ กลุ่มนี้ถ้าใช้ในอัตราสูงอาจเป็นพิษในช่วงพืชออกดอก หรือติดผลโดยเฉพาะผลไม้ที่มีไข หรือมีนวล (คะน้า องุ่น น้อยหน่า)
3.อัตราการพ่น การพ่นสารในอัตราสูงคือการพ่นละอองสารที่โตเกินไป ทำให้พืชได้รับสารเคมีเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจ บางครั้งอาจเรีกว่า พ่นมากจนเป็นการรดน้ำให้พืช เช่น การพ่นคะน้า 1 ไร่ ถ้าพ่นแบบใช้เครื่องยนต์พ่นสารแบบแรงดันน้ำสูง จะใช้อัตราการพ่นประมาณ 100 -120 ลิตรต่อไร่ แต่เกษตรกรพ่นถึง 200 ลิตรต่อไร่ ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดความเป็นพิษต่อพืช
4.ความถี่การพ่น ผมเคยไปตรวจสอบแปลงที่เกิดอาการเกิดพิษต่อพืช หลายพืชเกิดจากพ่นถี่เกินไป สารเคมีเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับพืช หลังจากพืชได้รับจะเคลื่อนย้ายไปตามท่อน้ำ หรือดูดซึมผ่านใบที่เรียกว่า ทรานลามินาร์ (Translarminar activity) พอไปอยู่ในเซลที่ใบพืช จะพยายามขับถ่ายออกมาทางปากใบ ใช้ระยะเวลาหนึ่งขึ้นกับครึ่งชีวิตของสาร แสงแดด ปริมาณน้ำฝน หรือการให้น้ำ บางครั้งพืชยังขับถ่ายไม่หมด สารเคมีก็ถูกเติมลงไป ทำให้เกิดพิษต่อพืช
5.ช่วงอายุพืช ระยะวิกฤติของพืช อาจอยู่ในช่วงออกดอก ติดผลอ่อน ช่วงแล้งพืชขาดน้ำ เช่น ข้าวช่วงตั้งท้อง การพ่นสารบางสูตรอาจมีผลกระทบต่อพืชได้
6.การผสมสารหลายชนิด ในประเด็นนี้ผู้เขียนเคยนำเสนอมาครั้งหนึ่งแล้วว่า การผสมสารเคมีหลายชนิด บางครั้งอาจเกิดพิษต่อพืชได้ เช่น การผสมสารกำมะถัน (ซัลเฟอร์) หรือสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ (ไดเมทโทเอต โอเมทโทเอต เฟนโทเอต โพรฟีโนฟอส คลอร์ไพริฟอส ไตรอะโซฟอส โพรไทโอฟอส ฯลฯ) ไม่ควรผสมกับกลุ่มไวท์ออยล์และปิโตรเลียมออยล์ หรือใช้สารสูตร EC ผสมกับสูตร EC ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษต่อพืชได้ เช่นกรณีล่าสุดที่เพิ่งนำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พ่นสารคลอร์ไพริฟอส +ไซเพอร์เมทริน +แคปแทน+สารจับใบ ทำให้ดอกกล้วยไม้เสียไปทั้งสวน
7.สภาพแวดล้อมขณะพ่น การพ่นท่ามกลางแดดจัด และอากาศร้อน มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดอาการเกิดพิษต่อพืช
** ติดตามทาง Facebook**
FB : https://bit.ly/3tMSwDY
FB Fanpage : https://bit.ly/3lz5EsL
ขอบคุณครับ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารหลัก รอง จุลธาตุ และกลุ่มสารชีวภัณฑ์ ที่จำหน่ายทั่วไป
(ทางช่องมิได้จำหน่ายเป็นเพียงนำมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น ขอบคุณครับ)
*** กลุ่มพลังงานทางเลือก Solarcell Link : https://bit.ly/3zjR7WT
*** กลุ่ม อุปกรณ์ทำสวน (เครื่องตัดหญ้า และอื่นๆ) Link : https://bit.ly/3zjR7WT
*** กลุ่ม แตกแต่งสวน (เครื่องตัดแต่งกิ่ง และอื่นๆ Link : https://bit.ly/3CpdvzI
*** กลุ่มดินปุ๋ย และอุปกรณ์เพาะชำ (ปุ๋ย ฮอร์โมน ต่างๆ) Link : https://bit.ly/3Af1YT7
*** กลุ่มรถ และเครื่องตัดหญ้า (ทุกยี่ห้อ) Link : https://bit.ly/2VUhVPO
*** กลุ่ม ระบบรดน้ำต้นไม้ Link : https://bit.ly/3hH0w4M
*** กลุ่มอุปกรณ์ตกแต่งสวน Link : https://bit.ly/3tQwJv3
*** กลุ่มพันธุ์ไม้ต่างๆ Link : https://bit.ly/3CoCoMi
*** กลุ่มอุปกรณ์ทำครัวหลังจากขึ้นจากแปลงเกษตร LinK : https://bit.ly/3CnqXEw

**เชื้อไตรโคเดอร์มา และ บีเอส **
1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา และบีเอส (BS) จาก ม.เกษตร (เฟชบุ๊ค ของ อ.ประชุม รื่นนุสาร)
Link : https://bit.ly/2VCqDSC
2... ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3uZTMT8
3... เชื้อไตรโคเดอร์มาเข้มข้น กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3cmLDSt
**แคลเซียม-โบรอน **
1..โฟแมกซ์ แคลเซียมโบรอน 400 ขนาด 1 ลิตร Link : https://bit.ly/3qPFowy
2..ยาราวีต้า แคลซิพลัส แคลเซียม-โบรอน ขนาด 1 ลิตร Link : https://bit.ly/3ABtB9o

** ไคโตซาน **
1... ไคโตซาน จีที 1 กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3uEtxlg

** ปุ๋ยเกร็ด**
1…ชาลีเฟรท 0-52-34💥 (แดง) 1 กิโล บำรุงดอก บำรุงผล ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยเคมี เพิ่มดอก เร่งดอก ผล ปุ๋ย ฮอร์โมน อาหารเสริม ฟอสฟอรัส กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3w0Z6Gy
2.ปุ๋ยเกล็ด 0-0-60 สูตรใหม่ ปุ๋ยชาลีเฟรท ละลายง่าย กลิ่นหอม ใช้น้อย เนื้อละเอียด ต้นแข็งแรงต้านทานโรค เพิ่มแป้ง กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3w3qIuF


** สารจับใบ**
1… สารจับใบ ยาจับใบ สารเสริมประสิทธิภาพ สูตรเข้มข้น 1 ลิตรสารจับใบ ยาจับใบ สารเสริมประสิทธิภาพ สูตรเข้มข้น 1 ลิตร กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3dD832n
2… สารจับใบ N70 (บอสเอ็น.70) ชนิดเข้มข้น ขนาด500มล. กดลิงค์ได้เลยครับ Link : https://bit.ly/3AisSKd

(ก่อนตัดสินใจซื้อขอให้พี่น้องเกษตรกรอ่านรายละเอียดให้รอบคอบก่อนซื้อทุกครั้งและควรเลือกเปรียบเทียบกันหลายๆร้านนะครับ ขอบคุณครับ )

show more

Share/Embed