ศิลปนิพนธ์ชุด "ลีลาษิณีนารียักษ์" สาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ขวัญฤดี ริยาพันธ์ ขวัญฤดี ริยาพันธ์
5 subscribers
912 views
21

 Published On Apr 12, 2023

การแสดงสร้างสรรค์ชุด "ลีลาษิณีนารียักษ์" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากคณะหนังตะลุงในจังหวัดภูเก็ตซึ่งได้หยิบยกตัวหนังยักษิณีในหนังตะลุง เห็นได้ว่าเอกลักษณ์ตัวหนังตะลุง นางยักษิณี มีลักษณะ รูปแบบอันงดงามตามเชิงช่าง และยังแฝงการสื่อสารที่ซ่อนเร้นนัยยสำคัญอันเป็นคุณค่าทางด้านจิตใจ และความงามทางวรรณศิลป์ ตลอดจนการขาดการสืบต่อทางการแสดง ส่งผลให้คณะผู้วิจัยเห็นความสำคัญในการศึกษา รวบรวมองค์ความรู้ ในหัวข้อ “รูปแบบการแสดงของตัวยักษิณีในหนังตะลุงที่ปรากฏในจังหวัดภูเก็ต” เพื่อนำมามาเป็นแนวคิด และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง โดยการผสมผสานลักษณะการแสดงแบบนาฏศิลป์มาตรฐาน นาฏศิลป์พื้นเมืองท้องถิ่นภาคใต้ และแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย อันเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นใหม่ในศิลปะการแสดงชุด “ลีลาษิณีนารียักษ์” ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ศึกษารูปแบบการแสดงของตัวหนังยักษิณีที่ปรากฏในหนังตะลุงจังหวัดภูเก็ต
2. ศึกษาท่าทาง ในการแสดงของตัวหนังยักษิณีในหนังตะลุงที่ปรากฏในจังหวัดภูเก็ต
3. เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงชุด “ลีลาษิณีนารียักษ์” หนังตะลุงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
รูปแบบการแสดง
ช่วงที่ 1 พลีกรรมยักษิณี ใช้เสียงการสวดบทบูชาตัวหนังของนายหนังที่ใช้ปลุกตัวหนังให้มีชีวิต เป็นความเชื่อของนายหนังก่อนเริ่มทำการแสดง
ช่วงที่ 2 จรจริตนารียักษ์ ใช้เสียงดนตรีพื้นบ้านที่ถ่ายทอดลักษณะ ลีลา ท่าทางของยักษิณี แสดงอารมณ์แห่งความอ่อนหวาน ร่าเริง ความสุข สนุกสนาน และความสมบูรณ์ของกิริยานางยักษ์
ช่วงที่ 3 จรรยายักษิณี ใช้บทกลอนที่แสดงถึงข้อคิด คำสอนเกี่ยวกับจริยาของคน (แต่เปรียบเปรยผ่านความดุร้าย น่ากลัวของยักษิณี)

show more

Share/Embed