ตามรอยอารยธรรมปราสาทขอมโบราณ ep12 (ปราสาทห้วยทับทัน) อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ไปตามใจฝันกับนายปฐวี  แชลแนล ไปตามใจฝันกับนายปฐวี แชลแนล
407 subscribers
10,609 views
186

 Published On Jan 27, 2024

ปราสาทห้วยทับทัน (ปราสาทบ้านปราสาท หรือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ) ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท หมู่ที่ 12 ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอห้วยทับทัน เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงชนบทอีกประมาณ 8 กิโลเมตร
ปราสาทบ้านโนนธาตุ สร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยแบบปาปวน ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างบูรณะมาแล้ว 3 ยุค[1] สังเกตได้จากอิฐที่เรียงก้อนกัน
บ้านปราสาท ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2478
ปราสาทห้วยทับทัน สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงครองราชย์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ใช้เป็นที่ประดิษฐาน เทพเจ้าตีมูรติ เป็นปราสาทขอมโบราณแห่งหนี่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีขนาดสูงกว่า ประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตู ก่อด้วยศิลาแลง โดยมีการสันนิษฐานว่ามี 3 หรือ 4 ประตู แต่ในปัจจุบันคงเหลือให้เห็นเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น
ปรางค์องค์กลาง ขนาดใหญ่กว่าปรางค์ที่ขนาบข้างทั้ง 2 องค์ เล็กน้อย แต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้า ทางทิศตะวันออกมีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่ เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล ส่วนท่อนพวงมาลัย มีลายมาแบ่งที่ภาพบุคคลยืนในคุ้มเรือนแก้ว ซึ่งไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ใด ด้วยลายสลักยังไม่แล้วเสร็จ
ปรางค์ขนาบข้างสององค์ ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไป โดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตู ซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทรายและชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพการกวนเกษียรสมุทร ตกอยู่หน้าประตูปรางค์องค์ที่อยู่ด้านทิศใต้
ประเพณี ความเชื่อ
จากความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนที่ว่าบุคคลใดที่มีความเดือดร้อนมาบนบาน ก็จะได้สมดังปรารถนา[3] จึงมีผู้แวะเวียนมากราบไหว้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงมีการริเริ่มจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุ โดยจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆจากวิกิพิเดีย เพื่อการศึกษาและเรียนรู้

show more

Share/Embed