บทสวดมนต์ วิรูปักเข | ขันธะปะริตตะคาถา
Dhamada ธรรมะดา Dhamada ธรรมะดา
134 subscribers
131 views
7

 Published On Feb 16, 2022

บทสวดมนต์ วิรูปักเข (ขันธะปะริตตะคาถา)

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา
เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง
สัมมาสัมพุทธานัง ฯ

" ความเป็นมาของบทสวด ขันธปริตร (วิรูปักเขหิ เม)
สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]

เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน


....ขันธปริตรเป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]

" จัดทำเผยแพร่เพื่อรักษามรดกธรรมของพระพุทธศาสนา พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพื่อเทิดทูนบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่พุทธบริษัทสืบต่อไปฯ

show more

Share/Embed