หลวงพ่อเงิน กรุวัดท่ามะไฟ
4 มีนา 4 มีนา
87.5K subscribers
111,864 views
2.6K

 Published On Jul 1, 2021

พระรูปหล่อพิมพ์รูปเหมือน กรุวัดท่ามะไฟ #พระเครื่อง #หลวงพ่อเงิน
องค์ครูสำหรับเรียนดูเนื้อพระสำริดทองผสม หล่อโบราณ #พุทธคุณครอบจักรวาล

หลวงพ่อเงิน อมตเถราจารย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสหายธรรมมิกและเกจิผู้ร่วมในยุคเดียวกับสมเด็จพุทธาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงินได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงคราม อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่จังหวัดพิจิตร ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “พุทธโชติ” แล้วได้กลับมาจำวัดที่วัดชนะสงคราม และย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม วัดบางคลานใต้

หลวงพ่อเงินท่านร่ำลือทั้งเรื่องวิปัสสนาธุระ มนต์และวิทยาคม ญาณวิเศษ รวมถึงเชี่ยวชาญทางด้านยาและการรักษาโรคให้แก่ชาวบ้าน อีกทั้งยังได้สร้างถาวรวัตถุมากมาย ทั้ง โบสถ์ วิหาร ศาลา รวมถึงวัตถุมงคล ซึ่งมีการเล่าว่าท่านไม่ค่อยจะนิยมสร้างวัตถุมงคลมากนัก ดังนั้นส่วนมากจะเป็นการที่ลูกศิษย์ลูกหาสร้างมาให้ท่านปลุกเสกให้

ในยุคนั้นท่านได้สร้างความเจริญทางพุทธศาสนาและเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนอย่างมาก หลวงพ่อเงินท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๑ และท่านได้มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ สิริอายุรวม ๑๑๑ ปี

หลวงพ่อเงินท่านเป็นเกจิที่ผู้ที่สะสมพระเครื่องต่างก็รู้จัก พระเครื่องและวัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน เป็นที่ยอมรับในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลที่มีผู้คนนิยมอันดับต้นๆ เพราะมีประสบการณ์กันมานักต่อนัก และมีทำปลอมกันมากมาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาถ้าพี่ๆ น้องๆ อยากได้วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินที่ทันยุคไว้บูชา

พื้นฐานอย่างแรกที่เราต้องเรียนรู้คือ ประวัติการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน
วัดที่มีการจัดสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลของพลวงพ่อเงิน ที่ถูกบันทึกไว้มีมากมาย เพราะหลวงพ่อเงินท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายในพื้นที่จังหวัดพิจิตรและใกล้เคียง
เช่น วัดวังตะโก วัดท่ามะไฟ วัดท้ายน้ำ วัดห้วยเขน วัดคงคาราม วัดทุ่งน้อย วัดหลวง วัดขวาง วัดบางมูลนาก วัดท่าฬ่อ วัดฆะมัง วัดใหม่คำวัน และยังอาจจะมีอีกหลายวัด

ซึ่งพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน กรุวัดท่ามะไฟพิมพ์นี้ ผู้สะสมพระรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นมากนัก อาจจะคุ้นกับพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์จอบใหญ่ จอบเล็ก ที่มีค่านิยมหลักล้านถึงสิบล้านบาท แต่จริงๆ แล้ววัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินยังมีอีกมากมาย เช่นพิมพ์รูปเหมือนองค์นี้ พิมพ์สังกัจจายน์ พิมพ์สังฆาฏิแตก พิมพ์คอเอียง เต่า ตะพาบ ค่านิยมหลักหมื่นไปจนถึงแสนปลายๆ ตามสภาพ พิมพ์รูปหล่อเนื้อดินซึ่งหายากเพราะคาดว่าเป็นพระยุคต้นๆ พระผงพิมพ์พระจ้า ๕ พระองค์ ลูกอม หรือเหรียญหล่อ และยังมีวัตถุมงคลที่ลูกศิษย์ลูกหานำมาให้หลวงพ่อเงินปลุกเสกให้อีกมากมายที่ไม่ได้ถูกบันทึกหรือพูดถึงไว้

มาดูเรื่องวิธีการสร้างพระรูปหล่อ โดยวิธีหล่อโบราณ มีการสร้างได้หลายวิธี แต่จะแบ่งหลักๆ ออกได้เป็น 2 วิธีคือ การหล่อช่อ ซึ่งจะมีรอยตัดช่อและรอยตะไบช่อ และแบบเทเบ้าประกบ ก็จะเห็นรอยตะเข็บข้าง ซึ่งทั้ง ๒ วิธีนี้ เนื้อพระจะมีผิวเหี่ยว ซึ่งเป็นธรรมชาติของวิธีการหล่อโบราณ โลหะจะไม่ผสมเข้ากันดีนัก จะมองเห็นหลุมตามดขึ้นได้ตามองค์พระ แต่ถ้าเป็นการหล่อเหวี่ยงแบบปัจจุบัน เนื้อพระจะค่อนข้างตึง เรียบ เป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากระบบหล่อเหวี่ยงเนื้อพระจะค่อนข้างเข้ากันดี สร้างพระได้จำนวนมาก สวยงามและใช้เวลาน้อยกว่า

พระหลวงพ่อเงิน กรุวัดท่ามะไฟ เป็นพระเนื้อสำริดทองผสม สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณ เท่าที่ทราบ มีจำนวนครั้งที่สร้างอาจจะไม่มากเท่าพิมพ์นิยม พระพิมพ์รูปเหมือน กรุวัดท่ามะไฟ มีการสร้างหลายขนาด มีอุดกริ่ง และหล่อตัน พระในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นพระผง พระเนื้อดิน หรือพระเนื้อสำริดจะมีการสร้างตามสูตรการสร้างพระโบราณ ซึ่งมักมีการกำหนดสัดส่วนและปริมาณของมวลสาร มีกรรมวิธีการสร้าง

จุดสังเกตของพระเนื้อสำริดทองผสมที่ใช้วิธีการสร้างแบบหล่อโบราณ เมื่อส่องเนื้อเข้าไป เราจะไม่ได้เห็นผิวพระเป็นผิวเดียว จะมองเห็นเนื้อโลหะหลากหลายบนผิวองค์พระ เมื่อพระสร้างมาเป็นเวลานานเป็นร้อยปี เราจะดูคราบสนิม หรืออ็อกไซด์ที่เกิดบนผิวองค์พระเป็นตัวตัดสินอายุ สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านว่าไว้ว่า หลวงพ่อเงินท่านจะผสมเหล็กไหลลงไปด้วยเป็นมวลสารสำคัญ
แร่ต่างๆ ไม่ว่าจะทองคำ เงินทองแดง เหล็ก สังกะสี หรือแม้แต่ตะกัว ถ้าใช้ในปริมาณที่พอดี จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกาย เพราะสิ่งเหล่านี้ไหลเวียนอยู่ในร่างกายเราอยู่แล้ว อย่าลืมนะครับหลวงพ่อเงินท่านเก่งเรื่องยาและรักษาโรคนะครับ

ในการดูพระเนื้อสำริดทองผสม
๑ เนื้อพระ
๒ ความเก่า ความเหี่ยวของเนื้อ
๓ กระแสโลหะ
๔ แร่แฝงในองค์พระ
๕ หลุมตามด
๖ รอยตะไบ
๗ พุทธศิลป์ เชิงช่าง

สำหรับเชิงช่าง หรือลายเซ็นของช่าง สมัยนี้ช่างหรือศิลปินมักจะเซ็นต์ลายเซ็นไว้บนผลงานตัวเอง แต่สำหรับการสร้างพระ ช่างไม่สามารถเซ็นลายเซ็นตัวเองลงไปได้ เราจึงมักจะเห็นเชิงช่างหรือตำหนิอยู่บนองค์พระ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศึกษาไว้ได้ครับ แต่การสร้างพระแต่ละครั้งไม่ได้มีช่างท่านเดียว มีช่างแกะพิมพ์ ช่างหล่อ ช่างแต่ง และอาจมีหลายท่านที่ช่วยกันร่วมสร้าง ชาวบ้านมาช่วยกันทั้งตำบล เหมือนเป็นงานบุญ

ดังนั้น การสร้างพระในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะหลายหมื่น หรือหลายพันองค์ อาจมีหลายแม่พิมพ์ หลายบล็อค และช่างหลายคน เราจึงไม่สามารถยึดเป็นตำหนิตายตัวในพิมพ์ได้ว่าจะต้องมีจุดตรงนั้น รอยตรงนี้ แต่สำหรับความเป็นธรรมชาติ พุทธศิลป์และเชิงช่างจะต้องถูกต้อง พระรูปหล่อบางองค์ ไม่ได้มีใบหน้าหรือรอยริ้วจีวรในหุ่นเทียน แต่ช่างเป็นคนแต่งเพิ่มเติม ดังนั้นหากเป็นรอยแต่งนอกพิมพ์โดยช่าง เรามักจะเห็นความเรียบร้อย ความคมชัด ได้มากกว่ารอยในพิมพ์

ทั้ง ๗ ข้อนี้เป็นหลักในการดูพระรูปหล่อโบราณโดยใช้ความจริงและธรรมชาติในการสร้าง มาเป็นข้อศึกษา เพราะพระเก่าเหล่านี้ ผู้คนยอมเสียเงินเป็นแสนเป็นล้านเพื่อให้ได้วัตถุโบราณของแท้ ที่มีพุทธคุณมาอาราธนาใช้ ใครๆ ก็หลอกกันได้ แต่ธรรมชาติหลอกกันไม่ได้

show more

Share/Embed