ถอดรหัส ไขปริศนา ปราสาทหินแห่งอาณาจักรพระนคร I ท่องเที่ยวนอกตำรา EP.3 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.225
ประวัติศาสตร์ นอกตํารา ประวัติศาสตร์ นอกตํารา
1.04M subscribers
181,792 views
3.7K

 Published On Feb 20, 2024

การเดินทางอีกครั้งของสมาชิกกว่า 40 ชีวิต กับประวัติศาสตร์นอกตำราในวันสุดท้าย ยังคงท่องไปให้ดินแดนแห่งปราสาทเมืองพระนคร
เริ่มต้นที่ "ปราสาทบันทายศรี" ปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรพระนคร สร้างโดย “พราหมณ์ยัชญวราหะ” ในตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16
ไม่เพียงความงดงาม แต่ความน่าสนใจคือ การวางผังของปราสาทปราสาทบันทายศรี ดูเหมือนจะมีความเกี่ยวข้องกับปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ในประเทศไทยอย่างน่าสนใจ จนทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าปราสาททั้งสองอาจเกิดจากผู้สร้างคนเดียวกัน
ห่างจากเมืองพระนครมาทางทิศตะวันออกราว 15 กิโลเมตร ยังมีปราสาทที่น่าสนใจอีกหลัง นั่นคือ "ปราสาทบันทายสำเหร่"
จากภาพสลักที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของรามายณะ ทำให้เรารู้ว่า ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย
นักวิชาการส่วนใหญ่มักให้ความเห็นว่า ปราสาทนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 เพราะรูปทรงปราสาทคล้ายคลึงกับปราสาทนครวัด
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเห็นต่างออกไป โดยเชื่อว่าศิลปะที่พบที่นี่เป็นหลังยุคนครวัด น่าจะสร้างขึ้นหลังรัชสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 โดยฝีมือของกษัตริย์องค์ต่อมาที่มีชื่อว่า “พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2” ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ทางด้านตะวันออกของตัวปราสาท ยังมีร่องรอยของศิลปะแบบบายน ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สรรค์สร้างขึ้น โดยนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทประจำรัชกาลของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์
หากเทียบปราสาทบันทายสำเหร่กับประสาทในประเทศไทยแล้ว นับว่ามีเค้าโครงด้านสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทพิมาย ที่ จ.นครราชสีมา อย่างน่าสนใจ
การเดินทางท่องโลกแห่งปราสาทหินหลายแห่งของเรามาสิ้นสุดลงที่ ปราสาทนครวัด หรือ “พระบรมวิษณุโลก” อันเป็นพระนามภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นศาสนสถานที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อถวายแด่พระวิษณุ ในลัทธิไวษณพนิกาย ขณะเดียวกันที่นี่ยังเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์ จึงถูกเรียกว่า “มฤตกเทวาลัย”
นักเดินทางทั่วโลกเดินทางมาที่นี่ไม่เพียงเพื่อชมความงามของสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งของนครวัด แต่บนผนังระเบียงคดชั้นนอก ยังมีภาพจำหลักเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียงด้านทิศใต้ที่ถูกขนานนามว่า “ระเบียงประวัติศาสตร์” เป็นส่วนที่นักเดินมักให้ความสนใจเป็นพิเศษ ที่สำคัญยังมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับสยามประเทศไทยของเราอีกด้วย
ภาพขบวนเสด็จ ฯ ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่ปรากฏตลอดแนวกำแพงด้านทิศใต้ปีกตะวันตก ถูกตีความเอาไว้ในหลายความเห็นของนักวิชาการ บ้างก็ว่านี่เป็นขบวนทัพที่กำลังจะยกไปรบกับจามปา ขณะที่บางส่วนตีความว่า เป็นขบวนเฉลิมพระเกียรติยศ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของพระองค์
ขณะที่ อ.วรณัย พงศาชลากร นักมานุษยวิทยามองว่า ขบวนเสด็จ ฯ นี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางสู่โลกหลังความตายของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
ภาพที่คนไทยให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือภาพกองทัพหน้าสุดที่มีแม่ทัพถือธนูและลูกศร สวมหมวกประดับดอกไม้ ยืนบนสัปคับหลังช้าง ส่วนพลเดินเท้าถือหอกยาว สวมชุดลายดอก ประดับด้วยอุบะสร้อยระย้าอย่างงดงาม เดิมทีภาพนี้เคยมีจารึกกำกับว่า “เนะ สฺยำกุกฺ” แปลว่า “นี่คือ สยำกุก” แต่ปัจจุบันได้ถูกทำลายไป
หลายทศวรรษที่ผ่านมาคำว่า “สยำ” ถูกถอดความหมายโดยนักวิชาการเอาไว้หลายทาง เช่น
จิตร ภูมิศักร วิเคราะห์ว่า “สยำกุก” แปลว่า “เสียมกุก” หมายถึง ชาวเสียมจากลุ่มน้ำกก จ.เชียงราย
ส่วนศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่า สยำกุก น่าจะเป็นเสียมจากแถบเมืองเวียงจัน ใน สปป.ลาว
ขณะที่ ศ.เบอร์นาร์ด ฟิลิป โกรส์ลิเยร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส เชื่อว่า สยำกุกน่าจะเป็นกลุ่มชาวกูยทางอีสานใต้ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ อ.วรณัย พงศาชลากร นักมานุษยวิทยามองว่า "สยำกุก" น่าจะเป็นกลุ่มชนที่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยพิจารณาจากหลักฐานบางอย่างที่ปรากฏชัดอยู่ในภาพสลัก

show more

Share/Embed