ลำภูไทไกสอน ชุดภูไทไกสอน ๑ โดยศิลปินพื้นบ้านเมิงหนองสูง พ่อสมลี แม่วิไส
ผ้าขาวม้า ชาแนล ผ้าขาวม้า ชาแนล
986 subscribers
1,096 views
9

 Published On Apr 3, 2023

ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลนาโสกอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร***************************************นับย้อนหลังประมาณ ๑๗๘ ปี ราว ๆ พ.ศ.๒๓๖๙ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีเจ้าอนุวงศ์ผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ได้ประกาศตัวเป็นกบฏ ต่อราชอาณาจักรไทยกองทัพไทยได้ยกไปปราบจนสงบลงได้หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพญวนได้ยกเข้ารุกรานอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชองค์การให้พระยาบดินทรเดชา ยกทัพจากกรุงเทพ ฯไปสมทบกับกำลังหัวเมืองอีสานเข้าตีเมืองชายแดนญวน เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๓ มีเมืองวัง เมืองตะโปนเป็นต้น แล้วกวาดต้อนเอาผู้คนข้ามแม่น้ำโขงมาชาวเมืองที่อพยพมาเหล่านั้น ได้แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม แต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไป เช่น พระไกรสรราชไปตั้งเมืองหนองสูง พระพิเศษวงศา ไปตั้งเมืองกุฉินารายณ์เป็นต้น แต่ละเผ่าเรียกตัวเองว่า “ ผู้ไท “ ซึ่งกลายมาเป็นภาษานิยมทุกวันนี้ว่า “ ภูไท “ส่วนกลุ่มที่มาตั้งถิ่นฐานทางเมืองหนองสูงนี้ ได้แยกย้ายกันมาหาทำเลที่เหมาะสม สำหรับการประกอบสัมมาอาชีพ ซึ่งหลายหมู่บ้าน เช่น หนองสูง คำชะอี วังไฮ บ้านเป้า บ้านภู หนองโอ หนองแวง หลุบปึ้ง คำนางโอก กกแดง นากอก นาโด่ นาโสก นาบอน ป่งเปือย คำบก ห้วยละโมง บ้านบาก และบ้านห้วยทราย เป็นต้น หมู่บ้านเหล่า นี้อยู่ในความปกครองของเมืองหนองสูง
สำหรับบ้านนาโสก ได้เข้าไปยึดเอาชัยภูมิระหว่างหุบเขาภูยูง ภูหินสิ่ว ภูถ้ำพระ ภูมิประเทศตรงนี้ไม่ค่อยจะราบเรียบเท่าไรนัก เป็นพื้นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างหุบเขา พอถึงหน้าฝน เวลาฝนตกหนัก ๆ น้ำหลากบ่ามาท่วมพื้นที่แห่งนี้เจิ่งนองไปหมด ครั้นฝนหยุดตกสัก 4-5 ชั่วโมง น้ำก็จะลดลงสู่ลำธารหมด พื้นที่ถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้เป็นโสกเป็นเหว เช่นนี้ จึงนามหมู่บ้านว่า “ บ้านนาโสก “ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ มีอายุประมาณ ๑๖๐ ปี อยู่ต่อมาราว ๆ สัก ๒๐ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๐๗ ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้แยกตัวเองออกไป ตั้งบ้านใหม่ ทางฟากทุ่งนาทางทิศตะวันตกเรียกชื่อว่า “ บ้านเหล่าป่าเป้ด “ อยู่ห่างจากบ้านนาโสกประมาณ ๑๐ เส้นครั้นล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงเมืองมุกดาหาร โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ อำเภอมุกดาหาร “ ตำบลนาโสกก็เปลี่ยนมาขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร เช่นกัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ทางราชการได้พระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ในประเทศไทยตามแบบชาวยุโรปในขณะนั้นชาวนาโสกมีการศึกษาน้อยจึงเป็นเหตุให้ไม่มีความซาบซึ้งในคุณค่าของนามสกุล ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า ขณะที่จะตั้งนามสกุลนั้น คิดหาชื่อที่ไพเราะสละสลวยมีความหมายไม่ออกจึงฉุกคิดขึ้นได้ว่าเราอยู่ที่นี่ก็นานแล้ว ควรจะเอาชื่อบ้านเป็นนามสกุลเสียเลย ฉะนั้นชาวบ้านนาโสกส่วนมากจึงมีนามสกุลว่า “ นาโสก “ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ จึงได้มีสภาตำบลนาโสก เป็นครั้งแรก ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ สภาตำบล ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกโดยตำแหน่ง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล รวมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหมู่บ้านละ ๒ คน ส่วนคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กำนัน เป็นประธาน มีผู้ใหญ่บ้าน ไม่เกิน ๒ คน และสมาชิกสภาอีกไม่เกิน ๔ คน เป็นกรรมการ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยให้โอนงบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยให้มีชื่อตามตำบล คือ “องค์การบริหารส่วนตำบลนาโสก” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ง เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ กำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมู่บ้านละ ๒ คน ถ้าตำบลใดมี ๑ หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกได้ ๖ คน ถ้ามี ๒ หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกได้ หมู่บ้านละ ๓ คน และมีคณะกรรมการบริหารมาจากความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีการเปลี่ยนชื่อจาก“คณะกรรมการบริหารและกรรมการบริหาร” เป็นคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและจากประธานกรรมการ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลนาโสก ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “เทศบาลตำบลนาโสก” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน....

show more

Share/Embed