รักษาไตรครอง...ทำอย่างไร? โดยพระมหาพยอม ธมฺมรกฺขิโต และพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
นานาวินิจฉัย (พระมหาสีลานันท์) นานาวินิจฉัย (พระมหาสีลานันท์)
36.4K subscribers
1,759 views
71

 Published On Jun 25, 2024

#รักษาไตรครอง...ทำอย่างไร?
โดย พระมหาพยอม ธมฺมรกฺขิโต
และ พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
บรรยายในโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ รุ่นที่ ๔ "ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
ณ วัดนิสสรณวนาราม ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

#อุโทสิตสิกขาบท
นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กถิเน เอกรตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขุ ติจีวเรน วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมุติยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกถินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ผ้าเป็นนิสสัคคีย์และภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ

#คำสละผ้ากรณีอยู่ปราศราตรีไปแล้ว
อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ รตฺติวิปฺปวุตฺถํ อญฺญตร ภิกฺขุสมฺมุติยา นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ.
“ภันเต ผ้าผืนนี้ของผม อยู่ปราศจากราตรี เว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ผมสละผ้าผืนนี้แก่ท่าน”
(พอแสดงอาบัติเสร็จ พระที่รับอาบัติก็จะคืนผ้าให้)

หมายเหตุ : การสละผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ในกรณีนี้ เป็นเพียงการทำวินัยกรรมเท่านั้น ไม่ใช่สละให้จริงๆ ด้วยเหตุนั้น พอแสดงอาบัติเสร็จได้ผ้ากลับคืนมาแล้วจึงไม่จำเป็นต้องอธิษฐานผ้าใหม่ เพราะผ้ามิได้ละอธิษฐาน
(ดู กงฺขา.นวฏี.๓๐๓)

#วิธีถอนไตรจีวร (เช่น กรณีอรุณจะขึ้นแต่อยู่ห่างผ้าจึงต้องถอนชั่วคราวจึงจะไม่ต้องอาบัติ)
สังฆาฏิ ถอนว่า เอตํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ
อุตตราสงค์ ถอนว่า เอตํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทฺธรามิ
อันตรวาสก ถอนว่า เอตํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ
(ถ้าผ้าอยู่ใกล้ตัว เปลี่ยน เอตํ เป็น อิมํ)
ถ้ากลับมาอยู่ใกล้ผ้าแล้ว ค่อยอธิษฐานใหม่
(คำอธิษฐานก็แค่เปลี่ยนคำท้าย
จาก ปจฺจุทฺธรามิ เป็น อธิฏฺฐามิ)

#ต้องห่มซ้อนอุตตราสงค์และสังฆาฏิเมื่อเข้าหมู่บ้าน
น ภิกฺขเว สนฺตรุตฺตเรน คาโม ปวิสิตพฺโพ,
โย ปวิเสยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแค่อันตรวาสกและอุตตราสงค์
ไม่ควรเข้าหมู่บ้าน รูปใดเข้า ต้องอาบัติทุกกฏ
(ต้นบัญญัติเกิดมาจากพระเก็บสังฆาฏิไว้ในวัดที่อยู่ในป่าแล้วถูกโจรขโมยไป)
(วิ.มหา.๕/๓๖๒/๒๐๘)

หมายเหตุ : วัตรสำหรับพระที่ถือไตรครอง เมื่อจะเข้าหมู่บ้าน ต้องห่มสังฆาฏิซ้อนเข้ากับอุตตราสงค์ (เอาผ้า ๒ ผืนมาประกบกันแล้วห่ม บาฬีใช้ศัพท์ว่า สคุณํ กตฺวา) (ดู วิ.อฏฺ.๓/๖๖/๓๔, วิมติ.๒/๑๓๖)

#เหตุที่ไม่ต้องนำไตรจีวรเข้าหมู่บ้านไปครบ
มี ๕ อย่าง คือ
๑. อาพาธ (คิลาโน)
๒. สังเกตว่าฝนจะตก (วสฺสิกสงฺเกตํ)
๓. จะข้ามฝั่งแม่น้ำ (นทีปารํ คนฺตุํ โหติ)
๔. กุฏิมีกุญแจล็อกได้ (อคฺคฬคุตฺติวิหาโร)
๕. ได้กรานกฐิน (อตฺถตกฐินํ)
(วิ.มหา.๕/๓๖๒/๒๐๘)
แค่มีเหตุข้อ ๔ คือ กุฏิมีกุญแจล็อกได้ แค่ข้อเดียว ถึงไม่มีเหตุอื่น ก็สามารถเก็บไตรจีวรไว้ในกุฏิได้ โดยถึงมีเหตุข้ออื่น แต่ไม่มีกุฏิที่สามารถคุ้มครองจีวรได้ ก็เก็บไตรจีวรไว้ไม่ได้ (ดู วิ.อฏฺ.๓/๓๖๒,๒๑๙-๒๒๐, วชิร.๖๓๗, สารตฺถ.๓/๔๑๐, วิมติ.๒/๒๖๐)

#ถึงไม่นำสังฆาฏิไปด้วยก็ไม่มีอาบัติ ๗ ฐานะ คือ
๑. ไปอารามสงฆ์ในหมู่บ้าน (อนฺตราราม)
๒. ไปสำนักภิกษุณี (ภิกฺขุนูปสฺสย)
๓. ไปสำนักเดียรถีย์ (ติตฺถิยเสยฺย)
๔. ไปโรงฉัน (ปฏิกฺกมน)
๕. เดินทางผ่านหมู่บ้าน (คามมคฺค)
๖. พักอยู่ในที่พักส่วนตัวในหมู่บ้าน (วาสูปคต)
๗. ไปหาผู้ที่พักอยู่ในที่พักส่วนตัวในหมู่บ้าน (วาสูปคตสนฺนิกคต) (วิ.มหาวิ.๒/๕๑๕/๓๕๓)

หมายเหตุ : ๗ ฐานะนี้ ทำได้ทั้งการไม่นำสังฆาฏิไป ไม่คาดประคตเอว และไม่ต้องบอกลาเข้าหมู่บ้าน (ดู วิ.อฏฺ.๒/๔๓๘)

#อธิษฐานผ้าที่ใช้ในลักษณะเป็นไตรจีวรด้วยชื่อบริขารโจฬได้
อิทญฺจ ปน ติจีวรํ สุขปริโภคตฺถํ ปริกฺขารโจฬํ อธิฏฺฐาตุมฺปิ วฏฺฏติ. (กงฺขา.๑๘๔)
อนึ่ง ภิกษุจะอธิษฐานไตรจีวรนี้เป็นบริขารโจฬ (ผ้าบริขาร) เพื่อสะดวกต่อการใช้สอย ก็ควร

คำว่า สุขปริโภคตฺถํ (#เพื่อสะดวกต่อการใช้สอย) ความว่า เพื่อสะดวกต่อการใช้สอย เนื่องจากไม่มีโทษเพราะการอยู่ปราศ ภิกษุถึงจะเก็บจีวรไว้ในที่ใดที่หนึ่ง ยังอรุณให้ขึ้นในที่อื่นด้วยกิจมีการฟังธรรมเป็นต้น มาแล้วก็อาจจะใช้สอยได้โดยไม่ต้องสละ (กงฺขา.นวฏี. ๒๙๙)

#วิธีอธิษฐานผ้าเป็นบริขารโจฬ
อิมํ จีวรํ ปริกฺขารโจฬํ อฐิฏฺฐามิ
(อยู่ไกล ใช้ เอตํ)
ถ้าอธิษฐานหลายผืนพร้อมกัน
อิมานิ จีวรานิ ปริกฺขารโจฬานิ อธิฏฺฐามิ
(อยู่ไกล ใช้ เอตานิ)

ติดตามในช่องทางอื่นๆ:
Facebook : เพจนานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Facebook : พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท   / mahaparkpoom  
TikTok : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Instagram : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  

show more

Share/Embed