รำวงใต้เกี้ยว
Kritsana saisunee Kritsana saisunee
553 subscribers
40,401 views
464

 Published On Nov 3, 2022

การสร้างสรรค์การแสดงชุด “รำวงใต้เกี้ยว” ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช มีแรงบันดาลใจและแนวคิดมาจากการเต้นรองเง็งของชาวภาคใต้ อันนำไปสู่การศึกษารูปแบบการเต้นรองเง็ง และองค์ประกอบของการเต้นรองเง็ง อีกทั้งรูปแบบการรำวง ด้วยการประยุกต์จากนาฏยจารีตเดิม โดยนำเพียงเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของท่าทางการเต้นรองเง็ง เช่น การก้าวเท้า การแตะเท้า การโยกตัว การโอนตัว การย่อตัว เป็นต้น ผสมผสานกับการรำวงที่ผู้เต้นจะเดินเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา ในเชิงเกี้ยวพาราสีกันด้วยการกำหนดการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 หนุ่มพบสาว และช่วงที่ 2 บ่าวเกี้ยวหญิง นำเสนอในรูปแบบของระบำ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นวงดนตรีภาคใต้ตอนล่างของไทย อีกทั้งการนำทำนองเพลงที่ใช้ในการเต้นรองเง็งมาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ ด้วยการแต่งเติม สอดแทรก ยืดขยาย ตัดทอนทำนองเพลงตามความเหมาะสม และเรียบเรียงทำนองเพลงที่มีอยู่เดิมแล้วร้อยเรียงใหม่ สอดแทรกบทร้องในเชิงเกี้ยวพาราสีกัน การออกแบบเครื่องแต่งกายฝ่ายชายนำแนวคิดมาจากชุดบาจูเมอลายู ส่วนฝ่ายหญิงนำแนวคิดมาจากชุดเคบาย่าบีกู โดยกำหนดให้ผู้แสดงใช้ผ้าเช็ดหน้าในการเต้นรำ การวิจัยสร้างสรรค์ด้วยการกำหนดกรอบแนวคิดจากการฐานความรู้ และองค์ประกอบการแสดงดังกล่าวจึงกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุด “รำวงใต้เกี้ยว”

show more

Share/Embed