สารคดี แผลกดทับ ตอน แผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียง
SAWAKY INNOVATION SAWAKY INNOVATION
587 subscribers
259 views
1

 Published On Jun 1, 2020

สารคดี แผลกดทับ ตอน แผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียง
#สวากี้
#sawaky

วีดิโอนี้ สร้างขึ้นมาเพื่อการเรียนรู้
เกี่ยวกับปัญหาแผลกดทับ
สิ่งที่ก่อให้เกิดแผลและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ
ซึ่งจะลงเนื้อหาแนบมาด้วย
ศูนย์ให้คำปรึกษาแผลกดทับ
โทร 098 5651692

....................................................
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
และมีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเหล่านี้
คือ แผลกดทับ
วันนี้เสนอตอน
ผู้ป่วยติดเตียงกับปัญหาแผลกดทับ
โดย สวากี้
Healthy Foundations

การแก้ปัญหาทุกปัญหาเราต้องแก้ที่ต้นเหตุ
ถึงจะทำให้ปัญหานั้นหมดไปหรือบรรเทาลงได้
เรามาเข้าใจเกี่ยวกับแผลกดทับให้มากขึ้นกันเถอะ

เมื่อผู้ป่วยมีแผลกดทับเกิดขึ้น
จะทำให้มีความ ยากลำบากในการดูแล
เกิดความเครียดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล
มีค่าใช้จ่ายในการดูแลมากขึ้น
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในเชิงป้องกันจะดีกว่า
เพราะเกิดแผลแล้วจะรักษาให้หายนั้นทำได้ยาก
ก่อนอื่นเรามาทราบก่อนว่าแผลกดทับเกิดจากอะไร
มี 2 สาเหตุหลัก คือ
1 สาเหตุเกิดจากที่นอนแข็งเกินมาตรฐาน
ความหมายคือ
ความแข็งของที่นอน
จะทำให้เกิดแรงกดต่อกล้ามเนื้อสูง
ส่งผลให้หลอดเลือดตีบ
เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้
ทำให้เซลล์ตายและกลายเป็นแผลกดทับ
2 สาเหตุเกิดจากที่นอนไม่ระบายอากาศ
ความหมายคือ
ความร้อนจากภายในร่าง
กายระบายออกสู่ผิวหนัง
และจะสะ สมอยู่บริเวณที่ถูกกดทับ
ความร้อนจะกลายเป็นเหงื่อ
เกิดการอับชื้นและเกิดเป็นแบคทีเรียตามมา
แบคทีเรียจะทำให้ผิวหนังอ่อนแอและถลอกได้ง่าย
ถ้าหากเกิดแผลถลอกแบคทีเรีย
จะส่งผลให้แผลลุกลามอย่างรวดเร็ว
และทำให้แผลหายได้ช้าลงนั่นเอง

เมื่อเราทราบต้นเหตุกันแล้ว
เรามาดูวิธีแก้ปัญหากัน
เราควรเลือกคุณลักษณะของที่นอน
ให้ตรงกับที่ร่างกายต้องการคือ
สามารถลดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อ
และระบายอากาศได้ตลอดเวลา
ขอย้ำคำว่าตลอดเวลา เพราะร่างกายของเรา
ทำงานอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

วิธีเลือกอุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับมีดังนี้
1 ที่นอนจะต้องมีความนุ่ม
เพราะจะช่วยลดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อ
ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้สะดวก
2 ที่นอนจะต้องระบายอากาศได้ตลอดเวลา
เพราะจะช่วยไม่ให้เกิดเหงื่อ
ไม่อับชื้นและช่วยลดการสะ สมของแบคทีเรีย
3 หมอนสำหรับผู้ป่วยจำเป็นมาก
จะต้องเป็นหมอนที่ลดแรงกดทับ
และระบายอากาศได้ตลอดเวลา
จะช่วยป้องกันเกิดแผลที่ศีรษะได้
4 ผ้าขวางเตียงกันเปื้อน
จะต้องเป็นผ้าที่ระบายอากาศได้ดีไม่ใช้ผ้ายาง
5 แพมเพิส ชนิดระบายอากาศได้
เพราะจะช่วยลดการอับชื้น

ทั้ง 5 คุณลักษณะของอุปกรณ์นี้
จะเป็นด่านแรกของการป้องกัน
ไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงเกิดแผลกดทับ

และ 5 คุณลักษณะนี้
จะช่วยให้ไม่ต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยครั้ง
จึงเป็นเหตุให้ผู้ดูแล
มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นในเวลากลางคืน
มีสุขภาพดีทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล

ทำไมเราต้องพลิกตัวผู้ป่วย
1 ช่วยลดการกดซ้ำจุดเดิมเป็นเวลานาน ๆ
2 ช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น
ข้อต่อต่าง ๆ ให้มีการเคลื่อนไหว
3 ช่วยให้ปอดมีการเคลื่อนไหว
ซึ่งผู้ป่วยบางราย นอนหงายนาน ๆ
จะส่งผลต่อการหายใจติดขัด
หายใจไม่สะดวก
จึงจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายช่วย


มาดูประเด็นเกี่ยวกับท่านอน
ท่านอนเกี่ยวข้องอย่างไร
และมีความสำคัญขนาดไหน
ท่านอนบนเตียงผู้ป่วย
ที่ปรับตำแหน่งองศาได้นั้น
มีความสำคัญอย่างยิ่ง
เราต้องทราบก่อนว่า
การปรับให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนในแต่ละท่า
มีอะไรสัมพันธ์กันบ้าง
และส่งผลกระทบอย่างไร
1 ท่านอนหงาย
การปรับเตียงให้ขนานกับพื้น
เป็นท่าที่ช่วยให้กระจาย
น้ำหนักของผู้ป่วยได้ดีที่สุด
การปรับองศาของเตียง
จะส่งผลต่อการเสี่ยงเกิดแผลกดทับอย่างมาก
เช่น
ถ้าหากปรับเตียงเกินกว่า 20 องศาขึ้นไป
จะทำให้น้ำหนักของผู้ป่วย
ถ่ายเทลงบริเวณก้นกบมาก
ยิ่งองศามาก
ก็ยิ่งเกิดแรงกดมาก
และหากจัดให้นอนตำแหน่งนี้
เป็นระยะเวลานาน
ก็จะทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นจึงควรจัดให้นอนตำแหน่งนี้
เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
2 ท่านอนตะแคง
ท่านี้ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนไม่เกิน 15 นาที
เนื่องจากบริเวณด้านข้างลำตัว
จะมีพื้นที่รับน้ำหนักน้อย
จึงเกิดแรงกดทับที่สูงกว่าท่านอนหงาย
บริเวณที่เสี่ยงต่อ
การเกิดแผลกดทับในท่านี้คือ
บริเวณจุดสะโพกต่ำ
ซึ่งมีกระดูกต้นขาที่เป็นปุ่มนูน
จะเกิดแรงกดทับในบริเวณนี้สูง
บริเวณตาตุ่มและปุ่มกระดูกข้างหัวเข่า
ทั้งสองจุดนี้ก็สามารถเกิดแผลได้ง่ายเช่นกัน

สรุปบทความนี้ได้อย่างคร่าว ๆ
ว่าสิ่งที่ส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับ
เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจมัน
และใช้หลักการข้างต้นที่กล่าวไว้นั้น
ก็จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาแผลกดทับ

ทั้งเชิงป้องกันและรักษาแผลกดทับได้นั่นเอง



ด้วยความปรารถนาดี
จาก สวากี้

show more

Share/Embed