#พระเครื่อง
4 มีนา 4 มีนา
87.5K subscribers
12,454 views
725

 Published On Apr 9, 2024

จับผิดตำราเก๊
เช็คธรรมชาติพระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง

เนื้อพระที่เรียกว่าสำริด สำริดคือสายทอง ชินคือสายเงิน ในการสร้างวัตถุมงคลทั้งพระเครื่องหรือพระบูชาเก่าๆ เนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำ ทองแดงและสังกะสีเป็นหลัก ธรรมชาติจะต้องออกแดง ถ้าแก่ทองคำจะออกส้มสว่าง ขึ้นไปจนถึงเป็นสีนาก ถ้าเนื้อสีดำต้องไปเมฆพัดแต่ต้องใสและเงา หรือสุดๆ เลยถ้าจะให้ดำได้มากที่สุด ก็คือต้องมีส่วนผสมของเงิน จะออกประกายเทาหรือดำได้ แต่ออกไซด์ของเงินต้องมีเป็นคราบสีเทาอมดำ สนิมปูดของเงินต้องมี หรืออย่างน้อยที่สุดพระปิดตาหลวงปู่ทับ หรือหลวงปู่เอี่ยมเนื้อสำริดจะมีส่วนผสมพิเศษไปมากกว่านี้ ก็ต้องมีธรรมชาติ มีการเปลี่ยนสภาพตามอายุให้เห็น เรียกสำริดแต่จะดำลอยมาไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยไม่ได้ พระจะแท้ได้ ทั้งการสร้าง ธรรมชาติและอายุต้องถูกด้วย

พระปิดตาเนื้อสำริดในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีการสร้างหลายสาย หลายเกจิ มีมากกว่าที่มีการบันทึกไว้หรือจัดให้เป็นที่นิยม แต่ก็สูญหาย ถูกทำลายไปเยอะเพราะว่าไม่สากล ไม่นิยม ตำหนิไม่ตรงเลยไม่มีราคา เพราะคนยุคหนึ่งไม่เข้าใจการสร้าง คือยุคก่อนที่ ๔ มีนาทำคลิปนี้ไว้ ไม่ดูธรรมชาติเลย พระเก่า พระแท้จึงถูกตีเก๊ไปมากมายมหาศาลจากระบบสากลนิยม ๔มีนาใช้คำนี้คงไม่ผิดไปจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกันพระแท้ไม่สากลนิยมได้ แต่หวังใจว่าพระสากลนิยมจะแท้แบบแท้จริงๆ

มีคนตั้งคำถามมาบ่อยๆ คือมายิงคำถามนั่นล่ะครับว่า ๔มีนาเก็บพระไม่เหมือนชาวบ้าน แบบนี้แท้จริงๆ เหรอ ๔มีนาเก็บพระตามชาวบ้านนี่ล่ะครับ เก็บจากและเก็บตามชาวบ้าน แล้วพี่ๆ เพื่อนๆ ล่ะครับ เก็บพระตามใคร พระจะแท้ก็แท้ที่องค์พระ ประโยคง่ายๆ ติดหู ติดปาก แต่ยากที่จะเข้าใจและทำใจสำหรับบางกลุ่ม

เช็คธรรมชาติพระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง
ช่วงแรกๆที่ ๔มีนาศึกษาพระปิดตาหลวงปู่ทับ ข้อมูลเกือบทั้งหมดที่พบ ไม่ใช่แค่คล้ายกันแต่เป็นก๊อปแปะมาจากแหล่งให้ข้อมูลเดียวกัน หาข้อมูลต่างจากนี้ได้ไม่มากนัก แม้กระทั่งรูปหลวงปู่ยังหายากเลย นอกจากประวัติคร่าวๆ การสร้าง และช่วงปี ที่เหลือ ๔ มีนาจึงศึกษาจากรูปหล่อในยุคเดียวกัน พระปิดตาสายอื่นๆ รวมถึงปิดตาทองแดงเถื่อน ซึ่งไม่ค่อยโดนส่วนกลางปั่น หาไม่ยากมาก เก๊งานไม่ค่อยดี ถ้าพอหาปีลึกๆ ได้ ซึ่งยังไงก็เป็นพระหล่อโบราณแน่นอน จะเข้าใจได้เลยว่าพระปิดตาวัดทองหรือวัดหนังเนื้อเรียบๆ ไม่มีธรรมชาติอะไรเลย ผิวยังไม่ขึ้น ร่องโล่งๆ เนื้อดำๆ ตึงๆ เหมือนตะกั่วผสมอัลลอยหล่อเหวี่ยงมา โดยใช้พิมพ์กับตำหนิจากพระตัวเองเป็นตัวกำหนดความแท้ของพระทั้งหมด ทั้งๆ ที่เป็นเป็นวิธีที่ผิด ก่อนจะไปกันต่อ วางหลักการบางอย่างไปก่อนนะครับ พวกเส้นยันต์ต้องกลมเด้งเป็นเส้นขนมจีน หรือพวกรอยตะเข็บข้างต้องไม่มีให้เห็น เพราะถ้าเป็นพระแท้หล่อโบราณ เส้นยันต์จะเด้งไม่เด้ง ตะเข็บข้างจะมีหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยว ตำหนิยกพวกเหล่านี้ใช้ตัดสินอะไรไม่ได้ ลองฟังคลิปนี้เรื่องการสร้างแล้วคิดภาพตามนะครับ

ยันต์ต้องกลม
ก็เหมือนเรื่องที่บางกลุ่มเค้าพยายามเน้นให้คนเชื่อว่าพระเก่าต้องเนื้อตึงๆ พิมพ์คมๆ ถ้าพูดถึงพระเก่า พระหล่อโบราณ เจ๊งครับ นิยมได้ แต่แท้ไม่ได้ เรื่องยันต์กลมเป็นเส้นขนมจีนก็เหมือนกัน เส้นยันต์จะกลมทั้งหมดได้ถึงแค่การปั้นเส้นยันต์แล้วติดที่องค์พระ หลังจากนั้นเมื่อเป็นการประกบเบ้าด้วยดิน ต้องประกบแน่นและหนา เพื่อไม่ให้ดินเบ้าแตกหรือโลหะไหลออกเมื่อกรอกโลหะหลอมละลายลงไป นึกภาพตามทันนะครับ หุ่นเทียนจากขี้ผึ้งแท้ๆ อากาศร้อนๆ ในวัด ไออุ่นจากมือคนปั้นที่ปั้นแล้วขดเส้นยันต์ แล้วเอาดินมาพอกมากดให้แน่นติดกับหุ่นเทียน ไม่อย่างนั้นพอสำรอกหุ่นเทียนออก ลายละเอียดก็จะติดไม่ชัด แล้วพี่ๆ เพื่อนๆ คิดว่าเราควรจะได้เส้นยันต์กลมขนาดไหน เพราะฉะนั้นเรื่องเส้นยันต์จะไม่กลม ไม่เด้งก็แท้ได้หรือจะกลมจนเห็นขอบแค่ไหนก็เก๊ได้ เพราะว่าไม่เกี่ยวอะไรกับความแท้ อ่อ แต่ที่แน่นอนอย่างนึงครับ ต้องไม่ใช่กลมแบบกำหนดได้แบบฉีดแว๊กส์ หล่อเครื่องมา

ตะเข็บข้าง
เรื่องเดียวกันครับ ถ้าธรรมชาติและการเปลี่ยนสภาพทั้งหมดถึงอายุ ถึงมีตะเข็บข้างเราต้องตีเป็นพระแท้ ตะเข็บข้างใช้เป็นจุดตัดสินอะไรไม่ได้ แก๊งเดิมที่บอกว่าถ้ามีตะเข็บข้างคือผิดการสร้าง ข้อแรกที่เห็น หน้าพระที่ไม่มีตะเข็บข้างของพวกนั้น เอาเป็นว่าส่วนหนึ่งแล้วกัน เนื้อก็ผิด การสร้างก็ผิด อายุพระก็ผิด ปั่นกันหลักแสนหลักล้าน อันนี้เก๊จริงๆ ข้อที่สอง ถ้าเป็นการสร้างแบบหล่อช่อ ประกบเบ้าเหมือนการสร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ทำไมจะมีตะเข็บข้างไม่ได้ ตราบเท่าที่เราไม่สามารถระบุได้ว่าการสร้างพระทุกวาระ ใช้วิธีการสร้างแบบไหน พอกดินเบ้าเท่านั้นหรือว่ามีการประกบหน้าหลังด้วย แน่นอนครับ ถ้ามีใครบอกว่าต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่งแบบเดียวหรือแบบของตัวเองเท่านั้น โกหกแน่นอน นี่คือเหตุผลที่ว่า รอยตะเข็บข้างก็เป็นแค่หนึ่งวิชาในตำราเก๊ เหมือนกับการยึดพิมพ์ ชี้ตำหนิแต่พระผิดการสร้าง ผิดอายุในพระหล่อโบราณอื่นๆ

รอยตะไบ
พระปิดตาลอยองค์ส่วนมากเราจะพบรอยตะไบโดยเฉพาะที่รอยช่อชนวนที่เราจะใช้ดูเป็นส่วนประกอบได้ พระปิดตาส่วนมากรอยตัดช่อจะอยู่ที่ด้านใต้เข่า ๑ ข้างบ้าง ๒ ข้างก็พอมี บางสายรอยตัดช่ออาจจะอยู่ที่ยอดเศียรก็มี เราจะดูรอยตะไบกลับ ปากรอยเหี่ยวๆ ในร่องมีออกไซด์คลุม ร่องบางๆ ดูพริ้วๆ เบาๆ ดูรอยตะไบก็เหมือนการดูแผลสดกับแผลเป็น

ตำราเก๊น่ากลัวกว่าพระเก๊เยอะนะครับ
เวลาเช็คพระพี่ๆ เพื่อนๆ หาความแห้งนวลตา เนื้อเหี่ยวๆ มีออกไซด์คลุมชั้นผิว ในเนื้อมีกระแสโลหะ หรือเสี้ยนสังกะสีให้เจอนะครับ พระหล่อโบราณยึดพิมพ์ไม่ได้และไม่มีตำหนิ
ใครจะเล่นยังไง เล่นไปครับ แต่ถ้าจะสะสม จะลงทุน มองยาวๆ มองไกลๆ มองอนาคตให้ออก
เช็คธรรมชาติพระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง

show more

Share/Embed