เทอร์โมฟิวส์ คืออะไร ? เทอร์โมฟิวส์ ทําหน้าที่อะไร ? (Thermal Fuse )
Zim Zim DIY Zim Zim DIY
290K subscribers
88,647 views
2.3K

 Published On Apr 1, 2022

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
สำหรับวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ ฟิวส์ชนิดหนึ่ง ที่จะตัดการทำงาน ของอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อโหลดมีอุณหภูมิที่สูงเกินผิดปกติหรือกระแสเกินขนาด มันก็จะทำตัวเองขาด เพื่อที่จะรักษาโหลดไม่เสียหาย ได้
อุปกรณ์นี้มีชื่อว่า เทอร์โมฟิวส์
ซึ่ง ปกติแล้ว ฟิวส์ทั่วไปที่เราเห็น มันจะขาดก็ต่อเมื่อกระแสที่ไหล มันเกินอัตรา หรือ ว่ามันมีโหลดช๊อตกันอยู่ ใช่ไหมครับ
ฟิวส์ชนิดนี้
เขาก็จะระบุสเป๊ก ค่อนข้างที่จะชัดเจนว่า ทนแรงดันได้เท่าไหร่ ทนกระแสเท่าไหร่ ฟิวส์ถึงจะขาด
แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทให้ พลังงานความร้อน การตรวจสอบกระแสที่ไหลผ่าน เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ
เราจะต้องตรวจสอบ อุณหภูมิของโหลดตัวนั้นๆ ด้วย ถ้ามันร้อนมากๆ มันอาจจะทำให้ตัวมันเอง เสียหาย หรือ ติดไฟได้

เพราะฉะนั้น ก็เลยทำ ให้ฟิวส์ ที่เป็นประเภท ไวต่ออุณหภูมิ ไวต่อความร้อน
ได้ถือกำเกิดขึ้นมา ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ

เทอร์โมฟิวส์ เรียกอีกอย่างว่า = ฟิวส์ความร้อน ก็ได้ครับ
บนตัวมัน จะระบุ ค่าหลักๆ อยู่ 3 ข้อดังนี้
1. พิกัดกระแส
2. พิกัดแรงดัน
3. อุณหภูมิจุดตัด TF tf

อย่างตัวนี้เป็นเทอร์โมฟิวส์ที่พบเห็นได้ทั่วไป ทนกระแสได้ 10A , ที่ ไฟกระแสสลับ 250Vac , ที่อุณภูมิ 150C

เดี่ยวผมจะลอง ผ่าข้างในดูส่วนประกอบต่างๆกันครับ
ตัวมันจะประกอบ ด้วย ขาโลหะ เป็นแท่งเดียวกัน ยาวมาจนถึง บอดี้ของมัน
แล้วก็ มีขาอีกฝั่งหนึ่ง ที่ขามันยาวมาถึงข้างใน รอบๆขา ถูกหลอมด้วย เรซิน และ ก็ เซรามิก
ถ้าเอาทั้ง 2 ตัว มาประกบกัน กระแสจะไม่สามารถผ่านเทอร์โมฟิวส์ ตัวนี้ได้ นะครับ
มันจะต้องพึ่งอาศัย ใส้ใน มันอีกทีหนึ่ง
ไส้ในก็จะประกอบไปด้วย
สปริง ตัวที่ 1 ,
หน้าสัมผัสที่เลื่อน ได้ ,
แผ่นดิส
สองตัวนี้ผมวางสลับกัน นะครับ

แล้วก็มีสปริงตัวที่ 2 ตัวมัน น่าจะแข็งกว่าสปริง ตัวที่ 1 พอสมควร ,
และตัวสุดท้ายก็คือ แผ่นดิส

สปริงตัวแรก ก็จะวางในลักษณะนี้ครับ มันมีร่องของมันอยู่
แผ่นดิสก็จะวางอยู่ตรงนี้1แผ่น
สังเกตุว่ามัน จะวางลงไป ไม่สุดนะครับ เนื่องจากมันมี thermal pellet หรือว่าเป็นเม็ดความร้อน
ซึ่งอุณหภูมิปกติ มัน จะแห้งและแข็งมาก

มาดูหลักการทำงาน ของมันครับ
หลักการทำงาน ก็คือ ถ้าโหลดแผ่ความร้อนมาถึงตัวมัน ถ้าอุณภูมิ ไม่เกินจุดตัดก็ยังไม่เป็นไร
แต่อุณภูมิถึง จุดตัด เม็ดความร้อนตรงนี้จะละลาย ส่งผลให้สปริง คลายตัวอย่างเป็นอิสระ
เมื่อสปริงคลายตัว หน้าคอนแท๊ค ระหว่าง ขา และ หน้าสัมผัสเคลื่อนที่ ที่เคยติดกันก็จะอ้า ออก
ทำให้ โทโมฟิวส์ขาด

เมื่อมันขาด ก็คือตัวมันเสีย ต้องกหาตัวใหม่มาเปลี่ยน
และเพื่อความปลอดภัยควรเลือกใช้ เทอร์โมฟิวส์สเป๊กเดิม

ไม่ใส่ได้ไหม
ถามว่าไม่ใส่ได้ไหมเวลามันเสีย ต่อตรงได้ไหม ตอบว่าได้ครับ
แต่ถ้าหากไม่ใส่ เมื่อโหลดมีความร้อนสูง มันอาจจะหลอมละลาย เกิดไฟไหม้ ได้


ปกติมันก็ไม่พังกันบ่อยๆ หรอกครับ เพราะว่ามันจะมีเทอร์โมสตัด อีกตัว ช่วยทำงานก่อนหน้านี้อยู่
ถ้าตัวมันตัด ก็แสดงว่า มีความผิดปกติ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวนั้นๆ อยู่
ต้องแก้ไขเสร็จสิ้นก่อน ถึงจะใส่ตัวใหม่เข้าไปแทนครับ


เทอร์โมฟิวส์ที่มีขายตอนนี้ ก็มี อย่างมากมาย หลากหลายขนาด ขึ้นอยู่กับความต้องการ

อย่างตัวสี่เหลี่ยม ดำๆแบบนี้ มักจะอยู่ใน พัดลม
อุณภูมิของเขา ก็จะไม่สูงมากประมาณ 135C 140C ลักษณะการทำงานก็จะคล้ายคลึ่งกัน


ส่วนตัวสีขาวๆนี้ เราก็ มักจะเห็นใน หม้อหุงข้าว
อย่างในหม้อหุงข้าวตัวนี้ เขาก็จะวางเทอร์โมฟิว ในลักษณะ อนุกรมกับ ขดลวดความร้อนไปเลย นะครับ
เดียวผม จะลอง ใช้ คีม บีบ เทอร์โมฟิวส์ ตัวนี้ให้ดูข้างใน มันนะครับ ผมจะทำให้เปลือกนอกมันแตกออก
วัสดุที่เคลือย มันจะ คล้ายๆ เซรามิค เคลือบ เป็นเหมือนแท่งตะกั่ว ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ

เดี่ยวผมจะลองใช้ ไฟแช๊ค รนดูนะครับ ว่า มันทำงานได้จริงๆ หรือ เปล่า
นี่ครับ ขาดแล้วก็หลุดร่อน ออกไปเลย แสดงว่าทำงานได้จริง ๆ

ในอุปกรณ์ อื่นๆ ที่ เห็นบ่อยๆ
ส่วนใหญ่แน่นอนครับว่าเป็น อุปกรณ์ประเภทความร้อน อย่างเช่น เตารีด , หม้อหุง ข้าว , ในพัดลมก็มี
เครื่องชงกาแฟ , เครื่องอบขนมปัง ไดเป่าผม

ไดเป่าผม เขาจะมักนำไปวางไว้ กับขดลวด กรณีที่ขดลวดมันร้อนเกินไป หนังศรีษะก็อาจจะไหม้ได้ เทอโมฟิวส์ ก็จะขาด


ถ้าเป็นหม้อหุงข้าว ผมเห็นจะอยู่ราวๆ 180C

ใช้กับเตารีด ที่ อุณหภูมิมันก็จะสูงกว่า ก็น่าจะอยู่ราวๆ 200 C ขึ้นไป

วิธีวัด เทอร์โมฟิวส์
เนื่องจากเทอร์โมฟวิส์ไม่มีขั้ว สามารถวัดสลับขาไหนก็ได้
สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม ตั้งย่าน Rx1 วัดเข็มจะต้องขึ้น ถ้าเข็มไม่ขึ้น ขาด
หรือจะตั้งเป็น เสียงก็ได้ครับ จิ้มวัดเสียงจะต้องดัง

สำหรับมัลลิมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถทำได้หลายกรณี
จิ้มวัดด้วยเสียง ถ้าดีจะต้องดัง
วัด โหมดไดโอดวัดจะต้องไม่ขึ้นค่า OL
วัดโหมด วัดความต้านทาน จะต้องขึ้น 0 ohm

ข้อควรระวัง
ห้ามใช่เทอร์โมฟิวส์แทน ฟิวส์กระแสทั่วไป เพราะมันจะทำงานผิดปกติ
ถ้าหาเบอร์เดิมไม่เจอจริงๆ เราสามารถ เพิ่ม องศา ได้มากกว่าเดิม ได้นิดหน่อย แต่ ไม่ควรจะใส่ค่าให้น้อยกว่าเดิม เดิม

สำหรับการ ถอดเปลี่ยน
ไม่ควรใช้ หัวแร้ง บัดกรี เพราะอาจจะทำให้เทอร์โมฟิวส์ เสื่อมค่าได้

ถ้าขามันยาว นะครับ ให้มัดพันรวมกันได้เลย

แต่ถ้า ขาที่ซื้อมามันสั้น
ควรจะใช้ ข้อต่อแบบย้ำ
หรือใช้ สลิปต่อสายแบบเปลือย

ถ้าหากหาซื้อไม่ได้จริงๆ เราสามารถ ประยุกต์ ใช้หางปลา ตัดเอาเฉพาะ ข้อต่อ ออกมา เอาสายไฟใส่ เอาขาเทอร์โมฟิวส์ ใส่ หลังจากนั้นใช้คีมย้ำให้แน่น
เราก็จะได้ เทอร์โมฟิวส์ที่ สมบูรณ์แบบ 100% แล้วละครับ


สำหรับคลิปนี้ผมก็ขอ อธิบายไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ


#เทอร์โมฟิวส์คืออะไร? #เทอร์โมฟิวส์ทําหน้าที่อะไร? #ThermalFuse คือ

show more

Share/Embed