ตำนานศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์พระธาตุที่เก่าแก่และสำคัญเในภาคอีสาน
เรื่องเล่าจากบันทึก เรื่องเล่าจากบันทึก
190K subscribers
211,860 views
3.6K

 Published On Feb 18, 2024

00:00:00 พระธาตุพนม
00:26:40 พระธาตุขามแก่น
00:35:59 พระธาตุนาดูน
ตำนานศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์พระธาตุที่เก่าแก่และสำคัญเในภาคอีสาน
‘พระธาตุพนม’ เป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่บน ‘ภูกำพร้า’ เนินเตี้ย ๆ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม โดยที่มาของชื่อพระธาตุยังคงเป็นปริศนาว่า ‘พนม’ มาจากอะไร เคยมีคนสันนิษฐานว่า พนม อาจเพี้ยนมาจากคำว่า ‘ฟูนัน’ รัฐโบราณขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขงก็ได้ แต่ก็ยังเป็นแค่การคาดเดานะ ยังไม่ใช่ข้อสรุป
ส่วนประวัติของพระธาตุพนมองค์นี้พบอยู่ใน ‘ตำนานอุรังคธาตุ’ ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช กษัตริย์องค์สำคัญของล้านช้าง ซึ่งเล่าถึงเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมายังภูกำพร้าและมีพุทธทำนายว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะถูกบรรจุที่นี่พร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในอดีตที่บรรจุอยู่ก่อนแล้ว แล้วสุดท้าย หลังจากที่พระศาสดาปรินิพพาน พระมหากัสสปะก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหปลาร้า (อุรังคธาตุ) มายังภูกำพร้าจริง ๆ ในคราวนั้น พระยาทั้ง 5 จากแคว้นรอบ ๆ เสด็จมาและร่วมกับสร้าง ‘อูบมุง’ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมสิ่งของมีค่ามากมาย ดังนั้น ผู้คนในแถบลุ่มน้ำโขงจึงเชื่อกันว่าพระธาตุพนมแห่งนี้มีอายุเก่ากว่าตามตำนานอุรังคธาตุนั้น
นอกจากเป็นพระธาตุสำคัญของผู้คนสองฝั่งแม่น้ำโขงแล้ว พระธาตุพนมยังมีสถานะพิเศษอีกอย่าง นั่นก็คือ เป็นพระธาตุประจำปีวอก หรือที่ภาษาเหนือออกเสียงว่า ‘ปีสัน’ และเป็นพระธาตุเพียงองค์เดียวในภาคอีสานที่อยู่ในกลุ่มพระธาตุประจำปีเกิด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ แต่การที่พระธาตุพนมถูกเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคตินี้ อาจเป็นเพราะความสำคัญของพระธาตุองค์นี้ที่มากกว่าพระธาตุองค์อื่น ๆ ในกลุ่มวัฒนธรรมลาว-ล้านช้าง ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับล้านนา รวมถึงอยู่ในเครือข่ายวัฒนธรรมเดียวกันด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น พระธาตุพนมยังเป็น 1 ใน 8 จอมเจดีย์แห่งสยามประเทศที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คัดเลือกและนำมาเขียนลงบนฝาผนังของพระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรฯ ร่วมกับเจดีย์สำคัญอีก 7 องค์ โดยคำอธิบายที่อยู่ใต้ภาพพระธาตุพนมนั้นระบุว่า “พระธาตุพนมที่เมืองนครพนม เก่าก่อนพระเจดีย์องค์อื่นหมดในแว่นแคว้นอีสาน” แสดงให้เห็นในมุมมองหรือความรู้เท่าที่มีในเวลานั้นว่า พระธาตุพนมคือเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในภาคอีสาน
พระธาตุพนม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของสองฝั่งโขงและชาวปีวอก 1 ใน 8 จอมเจดีย์แห่งสยามประเทศ
ต่อเติม พังทลาย แล้วสร้างขึ้นใหม่
แน่นอนว่าสิ่งก่อสร้างที่เด่นที่สุดภายในวัดพระธาตุพนม ก็คือองค์พระธาตุพนมนั่นแหละครับ แต่ทราบกันรึเปล่าครับว่า พระธาตุพนมที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่องค์ดั้งเดิม แต่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ 48 ปีก่อนหลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันที่พระธาตุพนมองค์นี้พังถล่มลงมา ชนิดที่ว่าอิฐแตกละเอียดเป็นผง ส่วนยอดหักลงมาเป็นท่อน ๆ แถมชิ้นส่วนของพระธาตุยังสร้างความเสียหายให้กับทุกอย่างที่อยู่โดยรอบ ว่ากันว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระธาตุพนมพังลงมาเกิดจากฝนที่ตกลงมาติดต่อกันหลายวัน แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่อาจสำคัญมากกว่าก็คือ การต่อเติมพระธาตุพนมให้สูงขึ้นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483
พระธาตุพนม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของสองฝั่งโขงและชาวปีวอก 1 ใน 8 จอมเจดีย์แห่งสยามประเทศ
ภาพ : พระธาตุพนม.com
พ.ศ. 2483 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อตอบสนองการเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยในคราวสงครามอินโดจีน จึงเกิดการก่อเสริมพระธาตุพนมให้สูงยิ่งขึ้น

พระธาตุนาดูน
ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่บ้านนาดูน มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงว่า บริเวณแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรื่องของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบ ได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 สมัยทวาราวดี นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก
ที่ตั้ง
พระธาตุนาดูน ตั้งอยู่ที่ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น "พุทธมณฑลแห่งอีสาน" รอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม
อาคารเสนาสนะ
พระธาตุขามแก่น เดิมเรียกพระธาตุบ้านขาม ไม่มีประวัติหรือจารึกระบุการสร้าง ต่อมาพระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงดำริว่าจังหวัดขอนแก่นควรมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดบ้าง จึงได้สืบเสาะจนพบพระธาตุบ้านขาม ที่บ้านขามธาตุใหญ่ และได้สืบเสาะประวัติความเป็นมาก็ไม่พบ จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าประวัติแล้วเรียบเรียงใหม่ โดยมีหลายสำนวน ตำนานพระธาตุขามแก่นปัจจุบันเป็นสำนวนของนายสมควร พละกล้า เรียบเรียง เพราะคณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ[1] และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ซึ่งจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด
เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

show more

Share/Embed